
สาร 4-n-butylresorcinol เกี่ยวข้องกับการเป็นฝ้าอย่างไร | |
พบครีมทาฝ้าบางชนิดมีรายการสารชื่อ 4-n-butylresorcinol มีประสิทธิภาพอย่างไร ใช้ทาฝ้าได้ทุกชนิดหรือไม่ ถ้าดีช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทยและใช้สารนี้ด้วยนะคะ | |
ผู้ตั้งกระทู้ นภัทร :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-25 16:10:01 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 7 (1603755) | |
ตามที่แจ้งว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีแต่ไม่มีเชื้อ น่าจะเรียกว่าเป็น carrier ใช่หรือไม่คะ ถ้าเข้าใจตรงกันสามารถใช้สารตัวนี้ได้ แต่ถึงจะเป็น active hepatitis ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน เพราะการใช้ภายนอกมีผลต่อตับน้อยมาก แต่แนะนำให้ใช้ Alpha lipoic acid ชนิดทามากกว่า เพราะสารรตัวนี้เป็น potent antioxidant ที่คงสภาพมาก ละลายในน้ำและน้ำมัน หากดูดซึมเข้าในเซลล์แล้วผ่านไปยังตับจะมีผลทำให้เซลล์ตับได้รับการดูแลจากการเป็นสารป้องกันการเกิดอนุมูลอิสสระได้อีกด้วย ฝ้าที่เกิดจากการแพ้สารต้องให้เวลาให้เซลล์ผิวฟื้นฟูสักระยะหนึ่ง เน้นการบำรุงควบคู่ไปกับการป้องกันแสงแดด ขอย้ำว่าเน้นการบำรุง อาจใช้ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอี สารสกัดใบบัวบก วิตามินซี วิตามินบี Alpha Bisabolol ลดการสัมผัสแสงแดดจ้าเป็นเวลานาน | |
ผู้แสดงความคิดเห็น MDchulee วันที่ตอบ 2012-03-26 21:03:57 |
ความคิดเห็นที่ 6 (1600557) | |
ดิฉันขอคำแนะนำในการรักษาฝ้าด้วยคะ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ฟา วันที่ตอบ 2012-03-04 19:31:10 |
ความคิดเห็นที่ 5 (1600555) | |
ดิฉันเป็นไวรัสตับอักเสบบีแต่ไม่มีเชื้อสามาถใช้สาร 4-n-butylresorcinol ได้หรือเปล่า และจะมีผลต่อตับหรือเปล่า หน้าเป็นฝ้ามากเพราะแพ้สารบางตัว | |
ผู้แสดงความคิดเห็น nan511342@gmail.com วันที่ตอบ 2012-03-04 19:26:29 |
ความคิดเห็นที่ 4 (1498186) | |
สารตัวนี้ ใช้แล้วปลอดภัยครับ ตอนทาอาจจะรู้สึกร้อนนิดหน่อย เมื่อออกแดด แต่เมื่อเข้าร่ม ก็ปกติครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น หนึ่ง วันที่ตอบ 2010-06-17 14:10:16 |
ความคิดเห็นที่ 3 (1488487) | |
เคยใช้ kojic acid มาแล้วเวลาทาแล้วถูกแสงแดดจัด แสบมาก สารตัวนี้มีอาการเดียวกันมั๊ย ใช้ติดต่อกันนานๆจะทำให้เป็นฝ้าถาวรเหมือนใช้ Hydroquinone หรือเปล่า | |
ผู้แสดงความคิดเห็น นก วันที่ตอบ 2010-03-07 14:59:33 |
ความคิดเห็นที่ 2 (1488083) | |
หน้าที่หลักของสารตัวนี้คือ antioxidant ตามที่คุณอ่านพบ แต่สารตัวนี้มีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือ Tyrosinase Inhibitor ที่มีประสิทธิภาพมีการทดลองเปรียบเทียบกับสารบางตัวที่ใช้อย่างแพร่หลายมาก่อนเช่น Kojic Acid พบว่าสารตัวนี้มีความสามารถยับยั้งการสร้างเมลานินได้ดีกว่า และก่อให้เกิดอาการระคายเคืองน้อยกว่า ในญี่ปุ่นจัดสารนี้ว่าเป็นเวชสำอาง | |
ผู้แสดงความคิดเห็น MDchulee วันที่ตอบ 2010-03-04 17:23:03 |
ความคิดเห็นที่ 1 (1487833) | |
เคยอ่านพบว่าสารตัวนี้เป็น Antioxidant จะใช้ในการรักษาฝ้าได้ยังไง | |
ผู้แสดงความคิดเห็น จันทร์ วันที่ตอบ 2010-03-01 21:05:45 |
[1] |